วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

ผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี และ สท. เมื่อ 26 ก.ย.2553

ฝากข่าวถึงนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรีท่านใหม่ โปรดแสดงความคิดเห็นด้านล่างสุด
ผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี และ สท.เมืองราชบุรี  เมื่อ 26 กันยายน 2553

ตัวย่อ : ศม. = กลุ่มศมานันท์พัฒนา, หห.= กลุ่มหวงแหนถิ่นกำเนิด, ลม.=กลุ่มทางเลือกใหม่, อส.=ผู้สมัครอิสระ, สด.= กลุ่มสมดุลย์

นายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี
อันดับ 1 เบอร์ 1 นางศมานันท์ เหล่าวณิชวิศิษฎ์ (ศม.)   จำนวน 9,644 คะแนน เป็นนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี 
อันดับ 2 เบอร์ 2 นายพิชัย นันทชัยพร (หห.) จำนวน 6,356 คะแนน
อันดับ 3 เบอร์ 4 นางนิษา โพธิเวชสกุล (ลม.) จำนวน 459 คะแนน
อันดับ 4 เบอร์ 5 นางพจนา ร่มโพธิ์ทอง (อส.) จำนวน 329 คะแนน
อันดับ 5 เบอร์ 3 นายศิริพันธ์ เรืองจินดา (สด.) จำนวน 162 คะแนน

บัตรดี 16,950 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 89.71)
บัตรเสีย จำนวน 1,013 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 5.36)
ไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 931 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 4.93)
ผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 26,900 คน
มาใช้สิทธิ์  18,894 คน (คิดเป็นร้อยละ 70.24)

สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เขต 1 
อันดับ 1 เบอร์ 2 นางเสาวณิต นันท์ธนะวานิช (ศม.) จำนวน 2,975 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 2 เบอร์ 1 นายไพจิตร บุลทวีนันท์ (ศม.) จำนวน 2,860 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 3 เบอร์ 3 นางวิสาสินี อิทธิโสภณพิศาล (ศม.) จำนวน 2,757 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 4 เบอร์ 4 นายไพฑูรย์ มลสวสัดิ์ (ศม.) จำนวน 2,697 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 5 เบอร์ 5 นายโกศล รุ่งหทัยธรรม (ศม.) จำนวน 2,590 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 6 เบอร์ 6 นางวรรณวิมล แซ่ตั้ง (ศม.) จำนวน 2,562 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 7 เบอร์ 9 นายปิยะวงศ์ เสริมทรัพย์ (หห.) จำนวน 2,088 คะแนน
อันดับ 8 เบอร์ 7 นายอดิศักดิ์ โอภาสวงศ์ (หห.) จำนวน 2,069 คะแนน
อันดับ 9 เบอร์ 8 นางสุภา สันดุษฎี (หห.) จำนวน 2,031 คะแนน
อันดับ 10 เบอร์ 10 นางเนาวรัตน์ อยู่ภิรมย์ (หห.) จำนวน 1,766 คะแนน
อันดับ 11 เบอร์ 11 นายแก้ว แสงอาทิตย์ (หห.) จำนวน 1,686 คะแนน
อันดับ 12 เบอร์ 12 นายธีรพร ปริญญากร (หห.) จำนวน 1,565 คะแนน
อันดับ 13 เบอร์ 13 นายโกมินทร์ อุดมสินต์ (ลม.) จำนวน 397 คะแนน
อันดับ 14 เบอร์ 14 นายพิชัย เอกเกษมสุข (ลม.) จำนวน 344 คะแนน
อันดับ 15 เบอร์ 15 นายธีรวัฒน์ ประกอบมงคล (ลม.) จำนวน 245 คะแนน

 บัตรดี 5,579 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 86.58)
บัตรเสีย จำนวน 409 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 6.35)
ไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 456 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 7.08)
ผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 9,227 คน
มาใช้สิทธิ์  6,444 คน (คิดเป็นร้อยละ 69.84)

สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เขต 2
อันดับ 1 เบอร์ 2 นายสมบัติ ตรรก์ชูวงศ์ (ศม.) จำนวน 2,829 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 2 เบอร์ 1 นายวีระ ทรงเจริญ (ศม.) จำนวน 2,695 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 3 เบอร์ 3 นายวิชัย เจนนิติธรรม (ศม.) จำนวน 2,536 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 4 เบอร์ 4 นายประสิทธิ์ เชาว์ไกร (ศม.) จำนวน 2,491 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 5 เบอร์ 5 นายละออง จันทร์แม้น (ศม.) จำนวน 2,337 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 6 เบอร์ 6 น.ส.สุนทรี เลิศสุวรรณ (ศม.) จำนวน 2,222 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 7 เบอร์ 7 นายพิสัณห์ เรืองเดช (หห.)จำนวน 2,028 คะแนน
อันดับ 8 เบอร์ 8 นายสมพร กิจประเสริฐ (หห.) จำนวน 2,021 คะแนน
อันดับ 9 เบอร์ 9 น.ส.พรรณเพ็ญ ชิ้นแสงชัย (หห.) จำนวน 1,793 คะแนน
อันดับ 10 เบอร์ 10 นายวรวุฒิ บุตรแสนภูมิ (หห.)จำนวน 1,781 คะแนน
อันดับ 11 เบอร์ 11 นายสาโรช แสงมณีเดช (หห.) จำนวน 1,707 คะแนน
อันดับ 12 เบอร์ 12  ร.ต.ต.อุดมศักดิ์ ฝ้ายเครือ (หห.)จำนวน 1,678 คะแนน
อันดับ 13 เบอร์ 15 นายคมกฤช บริสุทธิ์ (ลม.) จำนวน 270 คะแนน
ไม่มีอันดับ เบอร์ 13 นายทัศไนย เล้าพูนพิทยะ (ลม.) ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สท.
ไม่มีอันดับ เบอร์ 14 นายสุขุม  สุขสำราญ (สม.) ไม่มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง สท.

บัตรดี 5,226 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 84.47)
บัตรเสีย จำนวน 530 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 8.75)
ไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 431 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 6.97)
ผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 8,774 คน
มาใช้สิทธิ์  6,187 คน (คิดเป็นร้อยละ 70.52)

สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เขต 3
อันดับ 1 เบอร์ 1 นายทวีป เหนือมณีมงคล (ศม.) จำนวน 3,209 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 2 เบอร์ 2 นายวิทยา เหล่างาม (ศม.) จำนวน 3,092 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 3 เบอร์ 5 นายรัตนา ช้างพลายงาม (ศม.) จำนวน 2,979 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 4 เบอร์ 4 นายณรงค์ เกาะแก้ว (ศม.) จำนวน 2,845 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 5 เบอร์ 3 นายประกอบ อินทร์เกตุ (ศม.) จำนวน 2,494 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 6 เบอร์ 6 นายอุดม อังกุรกวิน (ศม.) จำนวน 2,299 คะแนน เป็น สท.
อันดับ 7 เบอร์ 13 นายดุจตะวัน วิไลวงษ์ (อส.) จำนวน 1,932 คะแนน
อันดับ 8 เบอร์ 8 ด.ต.ไพบูลย์ สุวรรณดารา (หห.) จำนวน 1,668 คะแนน
อันดับ 9 เบอร์ 10 นายพรั้ง โค้วถาวร (หห.)จำนวน 1,540 คะแนน
อันดับ 10 เบอร์ 9 นายธนวรกฤต ศุภรัตนชาติพันธุ์ (หห.) จำนวน 1,452 คะแนน
อันดับ 11 เบอร์ 7 นายสุรเดช สุนทรศานติก (หห.) จำนวน 1,395 คะแนน
อันดับ 12 เบอร์ 11 นายชัยธง ชูช่วย (หห.)จำนวน 1,374 คะแนน
อันดับ 13 เบอร์ 12 นายชัยชนะ พงษ์สุวรรณ (หห.) จำนวน 1,355 คะแนน
อันดับ 14 เบอร์ 15 นายวิวัฒน์ ลออจันทร์สว่าง (ลม.) จำนวน 381 คะแนน
อันดับ 15 เบอร์ 14  นายศุภชัย โพธิ์พุทธประสิทธิ์ (ลม.) จำนวน 292 คะแนน
อันดับ 16 เบอร์ 16 น.ส.สมลักษณ์ ดวงแก้ว (ลม.) จำนวน 165 คะแนน

บัตรดี 5,598 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 89.87)
บัตรเสีย จำนวน 286 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 4.59)
ไม่ประสงค์ลงคะแนน จำนวน 345 ใบ (คิดเป็นร้อยละ 5.54)
ผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 8,831 คน
มาใช้สิทธิ์  6,229 คน (คิดเป็นร้อยละ 70.54)

 อ่านย้อนหลัง เตือนความจำ กันคนเมืองราชบุรีจะลืม
อ่านต่อ >>

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

อาณาเขตจังหวัดราชบุรีสมัยปี พ.ศ.2468

การแบ่งเขตการปกครองจังหวัดราชบุรีสมัยปี พ.ศ.2468 นี้ ผมคัดลอกมาจากหนังสือสมุดราชบุรี ซึ่งจัดพิมพ์โดยมณฑลราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.2468 โดยการคัดลอกนี้ ผมได้พิมพ์ตัวอักษรตามแบบภาษาไทยที่ใช้เขียนในสมัยนั้น มิได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นภาษาไทยในปัจจุบันแต่อย่างใด ดังนั้นจึงอาจมีคำบางคำที่เขียนแตกต่างจากปัจจุบัน

คำแนะนำก่อนอ่าน
คำว่า ปัจจุบัน, เดี๋ยวนี้,ทุกวันนี้  ที่ปรากฏในบทความต่อไปนี้ หมายถึงปี พ.ศ.2468
มาตราส่วน ความยาว 100 เส้น เท่ากับประมาณ 4 กิโลเมตร
รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) = ปีพุทธศักราช (พ.ศ.) - 2,324

แผนที่นี้เป็นแผนที่ใหม่ใช้ประกอบจินตนาการในการอ่าน

อาณาเขตต์ แล ภูมิประเทศ

ปรากฏว่าเมื่อได้เริ่มจัดการปกครองท้องที่ในชั้นต้น คือ เมื่อ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) ได้แบ่งท่องที่เมืองราชบุรีออกเปน ๕ อำเภอก่อน แล้วภายหลังจึงได้จัดตั้งเพิ่มเติมขึ้นอีก ซึ่งในปัจจุบันนี้คงแบ่งเปน ๗ อำเภอ กับ ๒ กิ่งอำเภอ คือ 

อำเภอเมือง_ชั้นเดิม อำเภอนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลธรรมเสน เหนือที่ตั้งเมืองเดี๋ยวนี้ขึ้นไปประมาณ ๓๕๐ เส้น ครั้งนั้นยังเรียกว่าแขวง และมีพระรามบริรักษ์เปนนายแขวง ต่อมา ร.ศ.๑๑๗ (พ.ศ.๒๔๔๑) จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลธรรมเสน มาตั้งในบริเวณเมืองเดี๋ยวนี้ และพระแสนท้องฟ้า (ป้อง  ยมคุปต์) ได้เปนนายอำเภอ แล้วได้มีการเปลี่ยนตัวนายอำเภอกันเปนลำดับมา แต่ที่ว่าการอำเภอคงได้ตั้งอยู่ในตำบลในเมืองนี้เอง

อำเภอลาดบัวขาว_คืออำเภอท่ามะกาเดี๋ยวนี้  อำเภอนี้ได้แยกเอาท้องที่จากอำเภอท่าผาบ้าง (คือ อำเภอบ้านโป่ง) กับอำเภอธรรมเสน (คือ อำเภอเมือง) บ้าง ตั้งเปนอำเภอขึ้นที่ตำบลลาดบัวขาว จึงได้นามว่าอำเภอลาดบัวขาว  ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาลำน้ำแม่กลอง เหนือจากที่ตั้งเมืองขึ้นไปประมาณ ๑,๐๐๐ เส้น มีอาณาเขตต์ติดต่อกับเมืองกาญจนบุรี  ภายหลังได้ย้ายที่ว่าการไปตั้งที่ตำบลพงตึก เหนือที่เดิมขึ้นไปอีกประมาณ ๒๐๐ เส้น แล้วเปลี่ยนนามว่าอำเภอพระแท่น ถึง ร.ศ.๑๒๙ (พ.ศ.๒๔๕๓) ได้ย้ายที่ว่าการจากตำบลพงตึกไปตั้งที่ตำบลท่ามะกา ทางฝั่งซ้ายลำน้ำแม่กลอง เหนือจากที่เดิมขึ้นไปอีก ๑๒๐ เส้น และคงเรียกว่าอำเภอพระแท่น ต่อมาจน พ.ศ.๒๔๖๐ จึงได้เปลี่ยนนามเปนอำเภอท่ามะกา ตลอดมาจนทุกวันนี้

อำเภอบ้านโป่ง_เดิมอำเภอนี้เรียกว่าอำเภอท่าผา เพราะตั้งอยู่ที่ตำบลท่าผา ต่อมาเมื่อ ร.ศ.๑๑๔ (พ.ศ.๒๔๓๘) จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลบ้านโป่ง ริมฝั่งซ้ายลำน้ำแม่กลอง ใต้ที่เดิมลงมาประมาณ ๘๐ เส้น มีอาณาเขตต์ทางทิศตวันออกติดต่อกับเมืองนครปฐม ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

อำเภอโพธาราม_เดิมเรียกว่าอำเภอเจ็ดเสมียน ต่อเมื่อ ร.ศ.๑๑๔ (พ.ศ.๒๔๓๘) จึงได้ย้ายไปตั้งที่ตำบลโพธาราม ทางฝั่งซ้ายลำน้ำแม่กลอง เหนือจากที่เดิมขึ้นไปเปนระยะทางประมาณ ๒๐๐ เส้นและคงปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

อำเภอคลองแพงพวย_คืออำเภอดำเนินสดวกเดี๋ยวนี้ ได้ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖) ตั้งอยู่ที่ปากคลองแพงพวย  ใต้ที่ว่าการเมืองเดี๋ยวนี้ลงไป มีอาณาเขตต์ติดต่อกับจังหวัดสมุทสงคราม ครั้น ร.ศ.๑๑๖ (พ.ศ.๒๔๔๐) จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งในคลองดำเนินสดวก ณ ที่บ้านศรีสุราษฎร์ ตำบลหลักหก แล้วถึง ร.ศ.๑๒๐ (พ.ศ.๒๔๔๔) ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่ศาลาห้าห้อง ตำบลท่านัด ต่อมา พ.ศ.๒๔๕๕ จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ข้างวัดโชติทายการาม ตำบลดำเนินสดวก ตลอดมาจนทุกวันนี้ 

อำเภอปากธ่อ_เดิมอำเภอนี้เรียกว่าอำเภอท่านัดวัดประดู่  ได้ตั้งขึ้นเมื่อ ร.ศ.๑๑๕ (พ.ศ.๒๔๓๙) มีอาณาเขตต์ติดต่อกับจังหวัดสมุทสงคราม ถึง ร.ศ.๑๑๙ (พ.ศ.๒๔๔๓) ได้ย้ายที่ว่าการไปตั้งที่ตำบลวัดเพลง แลเปลี่ยนนามว่า อำเภอแม่น้ำอ้อม  ต่อมา พ.ศ.๒๔๕๖ ได้โอนอำเภอนี้ไปขึ้นแก่จังหวัดสุมทสงคราม แต่พอรุ่งขึ้น พ.ศ.๒๔๕๗ ได้มีการแบ่งปันตำบลท้องที่ในระหว่างจังหหวัดราชบุรี จังหวัดสุมทสงคราม แลจังหวัดเพ็ชร์บุรี อำเภอนี้จึงกลับโอนมาขึ้นจังหวัดราชบุรีอีก ครั้ง พ.ศ.๒๔๕๘ จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลปากธ่อริมทางรถไฟหลวงสายใต้ เรียกว่าอำเภอปากธ่อ ส่วนที่อำเภอแม่น้ำอ้อมเดิม คงยุบลงเปนกิ่งอำเภอ เรียกว่ากิ่งวัดเพลง ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้

อำเภอหัวโพ_ได้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗ โดยโอนตำบลต่างๆ จากอำเภอดำเนินสดวก อำเภอโพธาราม และอำเภอบ้านโป่ง มารวมตั้งเปนอีกอำเภอ ๑ ชั้นเดิมเรียกว่าอำเภอลำพระยา เพราะมีลำน้ำเก่าชื่อว่า ลำพระยาเปนหลักสำคัญ ต่อมา พ.ศ.๒๔๖๐ จึงได้เปลี่ยนนามเรียกว่าอำเภอหัวโพ เพราะที่ว่าการอำเภอได้ตั้งอยู่ในตำบลนั้น ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๖๑ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งเปนถาวรที่ตำบลบางแพใต้อีกครั้ง ๑ ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

ในบัดนี้ อาณาเขตต์จังหวัดราชบุรีคงมี คือ ทิศเหนือต่อกับจังหวัดกาญจนบุรี ในเขตต์อำเภอท่ามะกา ทิศตวันตกต่อกับเขตต์พม่า ในท้องที่อำเภอเมืองราชบุรี และต่อกับเขตต์จังเพ็ชร์บุรีในเขตต์อำเภอปากธ่อ ทิศใต้ต่อกับจังหวัดเพ็ชร์บุรี ในเขตต์อำเภอปากท่อแลต่อกับจังหวัดสมุทสงคราม ในเขตต์อำเภอปากธ่อและอำเภอดำเนินสดวก  ทิศตวันออกต่อหับจังหวัดสมุทสาครในเขตต์อำเภอดำเนินสดวก ต่อกับจังหวัดนครปฐมในเขตต์อำเภอดำเนินสดวก อำเภอหัวโพ และอำเภอบ้านโป่ง รวมเนื้อที่ในอาณาเขตต์จังหวัดราชบุรีประมาณ ๕,๐๐๐ ตารางกิโลเม็ตร์ หรือ ๓,๑๒๕,๐๐๐ ไร่

ภูมิประเทศของจังหวัดราชบุรี ในตอนทิศเหนือรอบนอกและทิศตวันตกที่ต่อกับเขตต์พม่า เปนป่าไม้ใหญ่และภูเขาสูง ซึ่งเปนที่กันเขตต์แดนระหว่างไทยกับพม่า ทิศตวันออกแลทิศเหนือรอบในเปนที่ราบเพาะปลูกข้าวและไร่ พรรณไม้ต่างๆ ทิศใต้เปนทุ่งลุ่มราบ เปนที่ทำสวนและนาโดยตลอด

สรุปกล่าวได้ว่า จังหวัดราชบุรีมีอาณาเขตต์ท้องที่กว้างขวางและติดต่อกับจังหวัดที่สำคัญตลอดจนอาณาเขตต์ของต่างประเทศและภูมิประเทศก็มีพร้อมทั้งป่าเขาและทุ่งท่า พื้นที่จึงอำนวยผลแก่การทำมาหาเลี้ยงชีพของพลเมืองได้มาก การหาเลี้ยงชีพของราษฎร จึงมีทั้งการทำนา ทำไร่ ที่เปนสำคัญ ตลอดจนการทำป่าไม้และแร่ธาตุโลหะต่างซึ่งมีอยู่ในท้องที่พร้อมบริบูรณ์ ประกอบทั้งทางคมนาคมก็สดวก โดยมีทางรถไฟติดต่อไปมาถึงกันได้หลายอำเภอตลอดถึงกรุงเทพพระมหานคร และจังหวัดต่างๆ ในที่ไม่มีทางรถไฟ ก็มีถนนหลวงสำหรับรถทุกชนิดไปมาได้ มีรถสำหรับรับส่งคนโดยสารไปมาถึงกันได้สดวก ทั้งมีแม่น้ำลำคลองติดต่อไปมาถึงกันได้ทั้งจังหวัด และมีเรือเมล์สำหรับรับส่งคนโดยสารเดินประจำอยู่เปนนิตย์

ที่มา :
มณฑลราชบุรี. (2468). สุมดราชบุรี. พระนคร : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย.


อ่านต่อ >>

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

มณฑลราชบุรี

เรื่องราวของมณฑลราชบุรีนี้ ผมได้คัดลอกมาจากหนังสือสมุดราชบุรี จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2468 เพื่อเป็นหนังสือประกอบการจัดแสดงมหกรรมระดับชาติที่มีชื่อว่า การแสดงสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ (The Siamese Kingdom Exhivition) และสมาคมมิตรภาพญี่ปุ่น-ไทย นำมาจัดพิมพ์ใหม่อีกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมกราคม 2550

ในการคัดลอกเรื่องราวของมณฑลราชบุรีครั้งนี้ ผมได้จัดพิมพ์ตามต้นฉบับที่เขียนไว้แต่เดิม เพื่อให้ได้อรรถรสตามสมัยก่อน อีกทั้งยังได้เรียนรู้ภาษาในสมัยก่อนด้วย ซึ่งมีคำบางคำแตกต่างจากภาษาที่เขียนในสมัยปัจจุบัน หลายคำนัก ลองอ่านกันดูนะครับ

การตั้งมณฑลราชบุรี

แต่โบราณกาลมา วิธีการจัดการปกครองท้องที่แห่งสยามประเทศ คงได้จัดตั้งขึ้นเปนเมืองต่างๆ เท่านั้น หาได้มีการรวมหัวเมืองต่างๆ ขึ้นเปนมณฑลดังเช่นปัตยุบันนี้ไม่ และเมืองต่างๆ นั้น ได้แบ่งเปน ชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับแห่งความสำคัญ และตามอาการที่เปนเมืองเล็กเมืองใหญ่ ดูเหมือนจะถือหลักว่าเมืองที่เปนสำคัญนั้นคือเมืองที่เปนเมืองน่าด่าน และกับที่เรียกว่าเมืองลูกหลวง เมืองเช่นกล่าวนี้ขึ้นตรงต่อพระมหานคร ส่วนเมืองที่เปนชั้นต่ำลงไปก็อยู่ในความครอบงำของเมืองใหญ่ ตามส่วน ตามภาค ที่ใกล้ชิดติดต่อกัน

การปกครองหัวเมืองต่างๆ ในสมัยโน้น มิได้รวมหัวเมืองทั้งหมดให้ขึ้นแก่ กระทรวงหนึ่งกระทรวงใดเปนเฉภาะเช่นในเวลานี้ ได้แบ่งการปกครองหัวเมืองให้อยู่ในสังกัดของ ๓ กรม คือ กระลาโหม มหาดไทย และกรมท่า

ครั้นต่อมา ในรัชกาลแห่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๕ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดรวมหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดติดต่อกัน ตั้งขึ้นเปนมณฑลเปนส่วนๆ เมื่อรัตนโกสินทร ศก ๑๑๓ (พ.ศ.๒๔๓๗) และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนวิธีการปกครองหัวเมือง ให้โอนไปสังกัดขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยทั้งสิ้น โดยในสมัยนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนระเบียบการปกครองแผ่นดิน จัดตั้งเปนกระทรวง ทบวงการต่างๆ ขึ้นแล้ว

มณฑล ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในปีที่กล่าวนี้ มี ๔ มณฑล คือ มณฑลพิศณุโลก มณฑลปราจิณ มณฑลนครราชสิ่มา และมณฑลราชบุรี

มณฑลราชบุรี นั้นได้โปรดให้รวมหัวเมือง ๖ หัวเมือง ตั้งขึ้น คือ เมืองราชบุรี ๑ เมืองกาญจนบุรี ๑ เมืองสมุทสงคราม ๑ เมืองเพ็ชร์บุรี ๑ เมืองปราณ ๑ เมืองประจวบคีรีขันธ์ ๑ แต่แล้วโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองปราณบุรีกับเมืองประจวบคีรีขันธ์ มาขึ้นกับเมืองเพ็ชร์บุรี ฉนั้นมณฑลราชบุรีจึงมีแต่ ๔ หัวเมือง

ครั้นถึง ร.ศ.๑๒๕ (พ.ศ.๒๔๔๙) จึงได้แยกอาณาเขตร์เมืองเพ็ชร์บุรี คือ เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ กับเมืองกำเนิดนพคุณ ซึ่งขึ้นเมืองชุมพรอยู่ในเวลานั้นรวมตั้งเปนเมืองขึ้นอีก พระราชทานนามว่า เมืองปราณบุรี เพราะทรงพระราชดำริห์ว่าเปนนามเก่า และตั้งที่บัญชาการเมืองที่เกาะหลัก

ครั้น พ.ศ.๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัตยุบัน มีกระแสร์พระราชดำรัสเหนือเกล้าฯ ว่า เมืองปราณบุรี ซึ่งตั้งศาลากลางเมืองที่เกาะหลักนั้น เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามไว้ว่า เมืองประจวบคีรีขันธ์ และได้ใช้นามนั้นมาจนถึง พ.ศ.๒๔๔๙ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองกำเนิดนพคุณ ๓ เมืองเปนเมืองเดียว เพื่อจัดการเทศาภิบาลนั้น ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า เมืองปราณบุรีเปนชื่อเก่าควรคงชื่อนั้นไว้ จึงได้ทรงพระราชทานนามเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่นั้นว่า "เมืองปราณบุรี" แต่ส่วนท้องที่เมืองปราณเดิมนั้น ให้คงเรียกว่าอำเภอปราณ

เพราะเหตุว่าที่เมืองปราณเก่านั้น มีตำบลบ้านและลำคลองปราณเปนหลักถานอยู่ ราษฎรก็ยังคงเรียกเมืองปราณเก่า ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภอปราณบัดนี้ว่า "เมืองปราณ" แต่ในทางราชการนั้นเรียกตำบลบ้านเกาะหลัก ที่ตั้งศาลากลางเมืองว่า "เมืองปราณบุรี" เปนการใช้สับสนพาให้เข้าใจผิดกันไปต่างๆ ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า นามเมืองปราณของโบราณก็ยังมีอำเภอเมืองปราณตั้งอยู่เป็นหลักถานมิได้สาบสูญ แต่ที่เอานามเมืองปราณมาใช้เปนนามสำหรับเมืองที่ตั้งอยู่ต่างท้องที่ในแขวงเมืองเดียวกันนั้น ทำให้เปนการสับสนและเข้าใจยากเช่นนี้ สมควรจะแก้ไขใช้นามเมือง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเมืองปราณบุรีว่า "เมืองประจวบคีรีขันธ์" แต่บัดนั้นมา

เพราะฉนั้น ในปัตยุบัน นี้ มณฑลราชบุรี จึงมีเมืองขึ้น ๕ เมือง คือ เมืองราชบุรี ๑ เมืองเพ็ชร์บุรี ๑ เมืองประจวบคีรีขันธ์ ๑ เมืองกาญจนบุรี ๑ และเมืองสมุทสงคราม ๑ และนับตั้งแต่เริ่มจัดการเทศาภิบาลเปนต้นมา คงได้ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ ที่เมืองราชบุรีจนถึงทุกวันนี้.

ภาพนี้สร้างขึ้นใหม่เพื่อจำลองอาณาเขต
27 ก.ย.2553
อาณาเขตร์มณฑลแลภูมิประเทศ

ท้องที่มณฑลราชบุรี อยู่ทางทิศตวันตกของกรุงเทพพระมหานคร มีมณฑลนครไชยศรีคั่นอยู่กลาง อาณาเขตร์ทางทิศตวันออกติดต่อกับเขตร์มณฑลนครไชยศรี และตวันออกตอนใต้ตกทะเล ขึ้นไปทางทิศเหนือติดต่อกับมณฑลนครสวรรค์และอาณาเขตร์พม่า (แขวงเมืองอำเฮิต) ของอังกฤษ ทิศตวันตกทั้งด้านติดต่อกับเขตร์พม่า ตั้งแต่เขตร์เมืองทวายตลอดเมืองมฤทธิ์และตนาวศรีของอังกฤษเช่นเดียวกัน ทิศใต้ติดต่อกับมณฑลสุราษฎร์

รวมอาณาเขตร์มณฑลราชบุรี มีเนื้อที่ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร์ หรือ ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ ไร่ แบ่งการปกครองออกเปน ๕ จังหวัด ๒๓ อำเภอ คือ

จังหวัดราชบุรี มี ๗ อำเภอ กับ ๒ กิ่งอำเภอ
จังหวัดเพ็ชร์บุรี มี ๖ อำเภอ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี ๓ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ
จังหวัดกาญจนบุรี มี ๔ อำเภอ กับ ๓ กิ่งอำเภอ
จังหวัดสมุทสงคราม มี ๓ อำเภอ

ภูมิประเทศของมณฑลราชบุรี แบ่งออกได้เปน ๒ ส่วน โดยถ้าจะถือจังหวัดราชบุรีเปนสูญกลาง และแบ่งภูมิประเทศจากทิศเหนือตรงไปถึงที่สุดทางทิศใต้ ภูมิประเทศทางทิศตวันออกตอนเหนือเปนท้องทุ่งราบลุ่ม มีการทำนาและทำสวน ตอนใต้เปนทะเล ส่วนภาคตวันตก นับตั้งแต่ตอนเหนือที่ต่อมณฑลนครสวรรค์และต่อเขตร์พม่า ตลอดลงไปถึงทางทิศใต้ที่ต่อเขตร์มณฑลสุราษฎร์นั้น ท้องที่เปนภูเขาเปนพืดตลอดจนสุดแดน และเปนป่าไม้ต่างๆ

ในท้องที่ภาคที่เปนทุ่งราบนั้น มีการทำนาทำสวนแลไร่ จนเต็มเนื้อที่หมด ประกอบด้วยมีทางคมนาคมบริบูรณ์ คือ มีลำน้ำ ลำคลอง ทางหลวง ทางราษฎร์ และทางรถไฟ ไปมาติดต่อถึงกันได้ โดยสดวกทั้งภายในมณฑลและนอกมณฑล ตลอดจนกรุงเทพพระมหานคร ส่วนทางภาคตวันตกที่เปนภูเขาและป่าไม้นั้นยังขาดทางคมนาคมอันสดวก นับว่าเปนท้องที่ค่อนข้างจะกันดาร แต่บริบูรณ์ไปด้วยสิ่งอันเปนประโยชน์ เช่น ป่าไม้ใหญ่ และแร่ธาตุโลหะต่างๆ เปนอันมาก

ลำน้ำลำคลอง ในท้องที่มณฑลราชบุรี มีลำน้ำแม่กลองเปนหัวใจสำคัญ เพราะได้อาศรัยน้ำจากแม่น้ำนี้เปนประโยชน์แก่การเพาะปลูกทั่วไป และเปนทางคมนาคมสายใหญ่อันเปนประโยชน์ยิ่ง

นับจากต้นแม่น้ำ คือตั้งแต่หน้าศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีลงมาจนที่สุดออกอ่าวสยามที่หน้าศาลากลางจังหวัดสมุทสงครามเปนระยะทางยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร์ มีเมืองตั้งอยู่ตามลำน้ำนี้ถึง ๓ เมือง คือ จังหวัดกาญจนบุรี  จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุมทสงคราม และมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ถึง ๙ อำเภอ คือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอวังขนาย ของจังหวัดกาญจนบุรี อำเภอท่ามะกา อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม อำเภอเมืองราชบุรี ของจังหวัดราชบุรี กับอำเภอบางคณฑี อำเภออัมพวา และอำเภอแม่กลอง ของจังหวัดสมุทสงคราม และทั้งสองฝั่งแม่น้ำเปนที่ทำประโยชน์แล้วทั้งสิ้น คือ มีการทำไร่ นา และสวน ทั้งมีบ้านเรือนติดต่อกันโดยตลอด ตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีถึงจังหวัดสมุทสงคราม และในตอนใต้ คือตั้งแต่จังหวัดราชบุรี ถึงจังหวัดสมุทสงครามม ยิ่งมีบ้านเรือนถาวรติดต่อกันแน่นหนายิ่งขึ้น นับเปนแม่น้ำสำคัญและมีประโยชน์มากสาย ๑ ในประเทศสยาม

ต้นของล้ำน้ำแม่กลองนี้มาจากหมู่ภูเขาตนาวศรี ซึ่งอยู่ปลายเขตร์แดนจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดตากกับจังหวัดอุไทยธานีต่อกัน ณ ที่ริมชายพระราชอาณาจักร์สยามต่อกับประเทศพม่า และนามแห่งแม่น้ำก็คงเนื่องมาจากนามอำเภอแม่กลอง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนนามว่า อำเภออุ้มผาง ขึ้นจังหวัดกำแพงเพ็ชร์ทุกวันนี้ และยังมีชื่อเรียกกันอีกว่าแม่น้ำศรีสวัสดิ์ เพราะมีเมืองศรีสวัสดิ์ตั้งอยู่  กับเรียกกันว่าแควใหญ่อีกนาม ๑ ซึ่งเปนคู่กันกับแม่น้ำไทรโยค ซึ่งเรียกกันว่า แควน้อย ระยะทางลำแม่น้ำศรีสวัสดิ์นับตั้งแต่ต้นน้ำถึงศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีตรงที่บรรจบกันกับแม่น้ำไทรโยคนั้นยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร์ นี้เปนต้นน้ำแม่กลองทาง ๑

อีกทาง ๑ มาจากแม่น้ำไทรโยคหรือที่เรียกว่าแควน้อย ซึ่งอยู่ทางทิศตวันตกของแม่น้ำศรีสวัสดิ์ ลำน้ำนี้ต้นน้ำเกิดจากลำธารต่างๆ บนหมู่ภูเขาในท้องที่ปลายอาณาเขตร์จังหวัดกาญจนบุรีต่อกับอาณาเขตร์พม่า มีระยะทางตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงหน้าศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีตรงที่บรรจบกับลำน้ำแควใหญ่ ยางประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร์

นอกจากที่กล่าวนี้แล้ว ยังมีแม่น้ำเพ็ชร์บุรีและลำน้ำปราณ ซึ่งเปนลำน้ำที่มีประโยชน์อันควรนับว่าสำคัญได้เหมือนกัน

ส่วนลำคลองซึ่งเปนทางคมนาคมเชื่อมระหว่างมณฑลราชบุรีกับกรุงเทพพระมหานคร ก็มีคลองสุนักข์หอนยาวประมาณ ๒๕ กิโลเมตร์ และคลองดำเนินสดวกยาวประมาณ ๓๕ กิโลเมตร์  ซึ่งนับว่าเปนคลองที่มีประโยชน์มามากแต่โบราณกาลตลอดจนทุกวันนี้ นอกนั้นก็ยังมีคลองต่างๆ สำหรับติดต่อไปมาภายในอาณาเขตร์ของมณฑล  อันนับว่าเปนประโยชน์นั้นอีกมากมายหลายคลอง

อาณาเขตร์มณฑลราชบุรีที่เปนฝั่งทะเลนั้น นับจากปากอ่าวแม่กลองลงไปจนสุดเขตร์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ต่อกับจังหวัดชุมพรมีระยะทางยาวประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร์เศษ และทางรถไฟที่ผ่านในอาณาเขตร์มณฑลราชบุรี มีระยะทางยาวประมาณ ๓๔๔ กิโลเมตร์

ที่มา :
มณฑลราชบุรี. (2468).  สมุดราชบุรี. พระนคร : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย.
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

คลิบวีดีโอแถลงนโยบายของนายพิชัย นันทชัยพร ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี เบอร์ 2

Part 1

Part 2


Part 3


Part 4


Part 5

คลิบวีดีโอแถลงนโยบายของนายพิชัย นันทชัยพร
ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี เบอร์ 2 กลุ่มหวงแหนถิ่นกำเหนิด
เลือกตั้งวันที่ 26 กันยายน 2553
ที่มา : s463368's Channel
อ่านต่อ >>

คลิบวีดีโอแถลงนโยบายของนางศมานันท์ เหล่าวณิชวิศิษฎ ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี เบอร์ 1

Part 1

Part 2

Part 3

Part 4

คลิบวีดีโอแถลงนโยบายของนางศมานันท์ เหล่าวณิชวิศิษฎ
ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี เบอร์ 1 กลุ่มศมานันท์พัฒนา
เลือกตั้งวันที่ 26 กันยายน 2553
ที่มา : s463368's Channel
อ่านต่อ >>

คลิบวีดีโอแถลงนโยบายของนางนิษา โพธิเวชสกุล ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี เบอร์ 4

Part 1

Part 2

คลิบวีดีโอแถลงนโยบายของนางนิษา โพธิเวชสกุล
ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี เบอร์ 4 กลุ่มทางเลือกใหม่
เลือกตั้งวันที่ 26 กันยายน 2553
ที่มา : s463368's Channel
อ่านต่อ >>

คลิบวีดีโอแถลงนโยบายของนายศิริพันธ์ เรืองจินดา ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี เบอร์ 3

Part 1

Part 2

คลิบวีดีโอแถลงนโยบายของนายศิริพันธ์ เรืองจินดา
ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี เบอร์ 3 กลุ่มสมดุลย์
เลือกตั้งวันที่ 26 กันยายน 2553
ที่มา : s463368's Channel
อ่านต่อ >>

คลิบวีดีโอแถลงนโยบายของนางพจนา ร่มโพธิ์ทอง ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี เบอร์ 5

การแถลงนโยบายของนางพจนา ร่มโพธิ์ทอง
ผู้สมัคร(อิสระ) เป็นนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี เบอร์ 5
เลือกตั้งวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 2553
อ่านต่อ >>

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อมูลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรีและสมาชิกฯ

ข้อมูลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรีและสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี
ในวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 2553 เวลา 08:00-15:00 น.
แบ่งเขตเลือกกตั้งออกเป็น 3 เขต ดังภาพ


การเลือกตั้ง
  • นายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี เลือกได้จำนวน 1 เบอร์
  • สมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เลือกได้ไม่เกิน 6 เบอร์
จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง  รวมทั้งสิ้น 26,621 คน แยกเป็น
  • เขต 1 จำนวน  9,159 คน
  • เขต 2 จำนวน  8,704 คน
  • เขต 3 จำนวน  8,758 คน
การจัดหน่วยเลือกตั้ง
แต่ละเขตแบ่งหน่วยเลือกตั้ง ออกเป็น 12 หน่วยเลือกตั้ง รวมทั้ง 3 เขต จะมีทั้งสิ้น 36 หน่วยเลือกตั้ง

การนับคะแนน
  • ผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เขต 1 นับคะแนนรวมที่ โรงเรียนเทศบาล 2  วัดช่องลม
  • ผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เขต 2 นับคะแนนรวมที่ โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี)
  • ผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี เขต 3 นับคะแนนรวมที่ โรงเรียนเทศบาล 3 
  • ผู้สมัครนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี นับคะแนนรวมที่ ศาลาประชาร่วมใจ เทศบาลเมืองราชบุรี
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเทศบาลเมืองราชบุรี
  1. นายสุภัทร์   พัฒนลาภ  ประธานคณะกรรมการ
  2. พ.ต.อ.สุพจน์  กลิ่นมาลี กรรมการ
  3. พ.ต.อ.ปรัชญ์ชัย  ใจชาญสุขกิจ กรรมการ
  4. นายนเรศ  แก้วพร้อมฤกษ์ กรรมการ
  5. นางไพลิน  เขื่อนทา กรรมการ
ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเทศบาลเมืองราชบุรี
  • นางไพลิน  เขื่อนทา 
คลิกดูรายละเอียดกลุ่มผู้สมัครรับเลือกตั้ง
หากมีข้อสงสัยต่างๆ สอบถามได้ที่ สำนักงานเทศบาลเมืองราชบุรี โทร.0-3233-7688 ต่อ 126 หรือ 108
อ่านต่อ >>

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

นโยบายผู้สมัครอิสระในการเลือกตั้ง 26 ก.ย.2553

ผู้สมัครอิสระที่ไม่มีกลุ่มการเมือง ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี และสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี ซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตั้้งในวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 2553 เวลา 08:00-15:00 น.โดยแบ่งการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลออกเป็น 3 เขต

เป็นนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี ได้แก่ นางพจนา ร่มโพธิ์ทอง (รององุ่น) จับสลากลงสมัครได้เบอร์ 5 ไม่มีรองนายก ไม่มีผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี

นโยบายในการหาเสียง
แนวนโยบายในการบริหารงานเทศบาลเมืองราชบุรี
โดยยึดหลักให้มีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาของรัฐบาล นโยบายการพัฒนาของจังหวัด และนโยบายการพัฒนาของอำเภอ โดยยุทธศาสตร์และนโยบายต่างๆ ซึ่งมีความมุ่งมั่นและพร้อมที่จะพัฒนาเทศบาลเมืองราชบุรี ให้มีความเจริญในทุกๆ ด้าน โดยการทุ่มเทความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ด้วยความเสียสละ รวมทั้งการระดมสรรพกำลังต่างๆ ที่เป็นประโยชน์เข้ามาช่วยในการพัฒนาเทศบาลเมืองราชบุรี
วิสัยทัศน์ :  ต้องการให้ "เทศบาลเมืองราชบุรีเป็นเมืองน่าอยู่ มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ประชาชนมีคุณภาพ คุณธรรมและมีความสมานฉันท์ที่ดี ชุมชนมีความเข้มแข็ง" โดยยึดหลักในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล 6 หลัก คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า

ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  1. มุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกของประชาชน ชุมชน ในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  2. ปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดภัยจากมลพิษทุกด้าน
  3. พัฒนาและปรับปรุงระบบการบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
  1. ส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาอาชีพ การอนุรักษ์และสืบทอดไว้
  2. สนับสนุนการจัดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
  3. ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การจัดงานประเพณีท้องถิ่น และภูมิปัญญาชาวบ้าน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา
  1. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสังกัดเทศบาลให้มีความทัดเทียมกัน
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนสามารถใช้ภาษาสากลในการสื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา
  3. ส่งเสริมสนับสนุนเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษทางกีฬา ศิลปะ นาฎศิลป์ และการดนตรี เพื่อยกระดับความสามารถให้ประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับชาติ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านบริหารจัดการการพัฒนาบุคลากร เทคโนโลยีและสารสนเทศ
  1. การบริหารจัดการทำให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตามหลักธรรมมาภิบาล และประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา สามารถตรวจสอบได้
  2. บริหารงบประมาณอย่างเปิดเผย สุจริต เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  3. พัฒนาความรู้ และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่บุคลากร
  4. สร้างระบบงานบริหารคุณธรรม ส่งเสริมคนดีและพัฒนาความรู้ และทักษะในการปฏิบัติงานให้กับพนักงานเทศบาลและลูกจ้างทุกคน
สโลแกนในการหาเสียง
  • พัฒนาจริง  ทำจริง เพื่อประชาชน
  • รวมพลังกันอีกครั้ง เพื่อราชบุรีที่ดีกว่า กับ พจนา  ร่มโพธิ์ทอง (รององุ่น)
  • จริงใจ มีคุณธรรม ประชาธิปไตยไม่ผูกขาด ขอโอกาสเป็นนายกเทศมนตรีเมืองราชบุรี
ที่มา
พจนา ร่มโพธิ์ทอง. (2553). แผ่นพับประชาสัมพันธ์. ได้รับเมื่อ 2 ก.ย.2553

---------------------------------------------------------------------------------


ผู้สมัครอิสระเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรีอีกท่านหนึ่ง ชื่อ นายดุจตะวัน วิไลวงษ์ เบอร์ 13 ลงสมัครในเขต 3


ประวัติ
  • บุตร นายสมทัศน์ วิไลวงษ์ (อุบ) นางอมรรัตน์ นาคผจญ (ต้อย)
  • ที่อยู่ ร้านปึงเช็งชิม อะไหล่รถยนต์ เลขที่ 14-16 ถ.อัมรินทร์ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
  • อาชีพ วิศวกรโยธา โทรศัพท์ 0-3233-7560 มือถือ 08-9837-7763
  • อีเมล์ duttawan_ce39@hotmail.com
การศึกษา
  • ประถมศึกษา โรงเรียนอนุบาลราชบุรี
  • มัธยมศึกษา โรงเรียนเบญจมราชูทิศราชบุรี
  • อุดมศึกษา
    • พ.ศ.2550 ปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    • พ.ศ.2550 ปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
    • พ.ศ.2552 ปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
    • พ.ศ.2553 ปริญญาโท วิศวกรรมโยธา สาขาวิชาวิศวกรรมโครงสร้าง จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์)
เกียรติคุณที่เคยได้รับ
  • พ.ศ.2548 ได้รับเหรียญทองเรียนดี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ.2548-2549 ได้รับทุนเรียนดีประเภทคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ในสาขาวิศวกรรมโยธา สองปีซ้อน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ.2549-2550 เป็นประธานชุมนุมสาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การศึกษาดูงาน ประเทศออสเตรเลีย, ศษลรัฐธรรมนูญ และอื่นๆ

นโยบายที่ใช้หาเสียงไม่มีข้อมูล

สโลแกนที่ใช้ในการหาเสียง
  • พลังใหม่ พลังแห่งความเป็นจริง
  • รักษาผลประโยชน์ของประชาชน ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นทุกรูปแบบ
ที่มา
โฆษณาใน น.ส.พ.ก้าวหน้า ฉบับวันพุธที่ 1 ก.ย.2553  ปีที่ 54 ฉบับที่ 8
อ่านต่อ >>