เรื่องราวของมณฑลราชบุรีนี้ ผมได้คัดลอกมาจากหนังสือสมุดราชบุรี จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2468 เพื่อเป็นหนังสือประกอบการจัดแสดงมหกรรมระดับชาติที่มีชื่อว่า การแสดงสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ (The Siamese Kingdom Exhivition) และสมาคมมิตรภาพญี่ปุ่น-ไทย นำมาจัดพิมพ์ใหม่อีกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมกราคม 2550
ในการคัดลอกเรื่องราวของมณฑลราชบุรีครั้งนี้ ผมได้จัดพิมพ์ตามต้นฉบับที่เขียนไว้แต่เดิม เพื่อให้ได้อรรถรสตามสมัยก่อน อีกทั้งยังได้เรียนรู้ภาษาในสมัยก่อนด้วย ซึ่งมีคำบางคำแตกต่างจากภาษาที่เขียนในสมัยปัจจุบัน หลายคำนัก ลองอ่านกันดูนะครับ
แต่โบราณกาลมา วิธีการจัดการปกครองท้องที่แห่งสยามประเทศ คงได้จัดตั้งขึ้นเปนเมืองต่างๆ เท่านั้น หาได้มีการรวมหัวเมืองต่างๆ ขึ้นเปนมณฑลดังเช่นปัตยุบันนี้ไม่ และเมืองต่างๆ นั้น ได้แบ่งเปน ชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับแห่งความสำคัญ และตามอาการที่เปนเมืองเล็กเมืองใหญ่ ดูเหมือนจะถือหลักว่าเมืองที่เปนสำคัญนั้นคือเมืองที่เปนเมืองน่าด่าน และกับที่เรียกว่าเมืองลูกหลวง เมืองเช่นกล่าวนี้ขึ้นตรงต่อพระมหานคร ส่วนเมืองที่เปนชั้นต่ำลงไปก็อยู่ในความครอบงำของเมืองใหญ่ ตามส่วน ตามภาค ที่ใกล้ชิดติดต่อกัน
การปกครองหัวเมืองต่างๆ ในสมัยโน้น มิได้รวมหัวเมืองทั้งหมดให้ขึ้นแก่ กระทรวงหนึ่งกระทรวงใดเปนเฉภาะเช่นในเวลานี้ ได้แบ่งการปกครองหัวเมืองให้อยู่ในสังกัดของ ๓ กรม คือ กระลาโหม มหาดไทย และกรมท่า
ครั้นต่อมา ในรัชกาลแห่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๕ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดรวมหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดติดต่อกัน ตั้งขึ้นเปนมณฑลเปนส่วนๆ เมื่อรัตนโกสินทร ศก ๑๑๓ (พ.ศ.๒๔๓๗) และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนวิธีการปกครองหัวเมือง ให้โอนไปสังกัดขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยทั้งสิ้น โดยในสมัยนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนระเบียบการปกครองแผ่นดิน จัดตั้งเปนกระทรวง ทบวงการต่างๆ ขึ้นแล้ว
มณฑล ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในปีที่กล่าวนี้ มี ๔ มณฑล คือ มณฑลพิศณุโลก มณฑลปราจิณ มณฑลนครราชสิ่มา และมณฑลราชบุรี
มณฑลราชบุรี นั้นได้โปรดให้รวมหัวเมือง ๖ หัวเมือง ตั้งขึ้น คือ เมืองราชบุรี ๑ เมืองกาญจนบุรี ๑ เมืองสมุทสงคราม ๑ เมืองเพ็ชร์บุรี ๑ เมืองปราณ ๑ เมืองประจวบคีรีขันธ์ ๑ แต่แล้วโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองปราณบุรีกับเมืองประจวบคีรีขันธ์ มาขึ้นกับเมืองเพ็ชร์บุรี ฉนั้นมณฑลราชบุรีจึงมีแต่ ๔ หัวเมือง
ครั้นถึง ร.ศ.๑๒๕ (พ.ศ.๒๔๔๙) จึงได้แยกอาณาเขตร์เมืองเพ็ชร์บุรี คือ เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ กับเมืองกำเนิดนพคุณ ซึ่งขึ้นเมืองชุมพรอยู่ในเวลานั้นรวมตั้งเปนเมืองขึ้นอีก พระราชทานนามว่า เมืองปราณบุรี เพราะทรงพระราชดำริห์ว่าเปนนามเก่า และตั้งที่บัญชาการเมืองที่เกาะหลัก
ครั้น พ.ศ.๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัตยุบัน มีกระแสร์พระราชดำรัสเหนือเกล้าฯ ว่า เมืองปราณบุรี ซึ่งตั้งศาลากลางเมืองที่เกาะหลักนั้น เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามไว้ว่า เมืองประจวบคีรีขันธ์ และได้ใช้นามนั้นมาจนถึง พ.ศ.๒๔๔๙ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองกำเนิดนพคุณ ๓ เมืองเปนเมืองเดียว เพื่อจัดการเทศาภิบาลนั้น ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า เมืองปราณบุรีเปนชื่อเก่าควรคงชื่อนั้นไว้ จึงได้ทรงพระราชทานนามเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่นั้นว่า "เมืองปราณบุรี" แต่ส่วนท้องที่เมืองปราณเดิมนั้น ให้คงเรียกว่าอำเภอปราณ
เพราะเหตุว่าที่เมืองปราณเก่านั้น มีตำบลบ้านและลำคลองปราณเปนหลักถานอยู่ ราษฎรก็ยังคงเรียกเมืองปราณเก่า ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภอปราณบัดนี้ว่า "เมืองปราณ" แต่ในทางราชการนั้นเรียกตำบลบ้านเกาะหลัก ที่ตั้งศาลากลางเมืองว่า "เมืองปราณบุรี" เปนการใช้สับสนพาให้เข้าใจผิดกันไปต่างๆ ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า นามเมืองปราณของโบราณก็ยังมีอำเภอเมืองปราณตั้งอยู่เป็นหลักถานมิได้สาบสูญ แต่ที่เอานามเมืองปราณมาใช้เปนนามสำหรับเมืองที่ตั้งอยู่ต่างท้องที่ในแขวงเมืองเดียวกันนั้น ทำให้เปนการสับสนและเข้าใจยากเช่นนี้ สมควรจะแก้ไขใช้นามเมือง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเมืองปราณบุรีว่า "เมืองประจวบคีรีขันธ์" แต่บัดนั้นมา
เพราะฉนั้น ในปัตยุบัน นี้ มณฑลราชบุรี จึงมีเมืองขึ้น ๕ เมือง คือ เมืองราชบุรี ๑ เมืองเพ็ชร์บุรี ๑ เมืองประจวบคีรีขันธ์ ๑ เมืองกาญจนบุรี ๑ และเมืองสมุทสงคราม ๑ และนับตั้งแต่เริ่มจัดการเทศาภิบาลเปนต้นมา คงได้ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ ที่เมืองราชบุรีจนถึงทุกวันนี้.
ท้องที่มณฑลราชบุรี อยู่ทางทิศตวันตกของกรุงเทพพระมหานคร มีมณฑลนครไชยศรีคั่นอยู่กลาง อาณาเขตร์ทางทิศตวันออกติดต่อกับเขตร์มณฑลนครไชยศรี และตวันออกตอนใต้ตกทะเล ขึ้นไปทางทิศเหนือติดต่อกับมณฑลนครสวรรค์และอาณาเขตร์พม่า (แขวงเมืองอำเฮิต) ของอังกฤษ ทิศตวันตกทั้งด้านติดต่อกับเขตร์พม่า ตั้งแต่เขตร์เมืองทวายตลอดเมืองมฤทธิ์และตนาวศรีของอังกฤษเช่นเดียวกัน ทิศใต้ติดต่อกับมณฑลสุราษฎร์
รวมอาณาเขตร์มณฑลราชบุรี มีเนื้อที่ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร์ หรือ ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ ไร่ แบ่งการปกครองออกเปน ๕ จังหวัด ๒๓ อำเภอ คือ
๑ จังหวัดราชบุรี มี ๗ อำเภอ กับ ๒ กิ่งอำเภอ
๒ จังหวัดเพ็ชร์บุรี มี ๖ อำเภอ
๓ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี ๓ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ
๔ จังหวัดกาญจนบุรี มี ๔ อำเภอ กับ ๓ กิ่งอำเภอ
๕ จังหวัดสมุทสงคราม มี ๓ อำเภอ
ภูมิประเทศของมณฑลราชบุรี แบ่งออกได้เปน ๒ ส่วน โดยถ้าจะถือจังหวัดราชบุรีเปนสูญกลาง และแบ่งภูมิประเทศจากทิศเหนือตรงไปถึงที่สุดทางทิศใต้ ภูมิประเทศทางทิศตวันออกตอนเหนือเปนท้องทุ่งราบลุ่ม มีการทำนาและทำสวน ตอนใต้เปนทะเล ส่วนภาคตวันตก นับตั้งแต่ตอนเหนือที่ต่อมณฑลนครสวรรค์และต่อเขตร์พม่า ตลอดลงไปถึงทางทิศใต้ที่ต่อเขตร์มณฑลสุราษฎร์นั้น ท้องที่เปนภูเขาเปนพืดตลอดจนสุดแดน และเปนป่าไม้ต่างๆ
ในท้องที่ภาคที่เปนทุ่งราบนั้น มีการทำนาทำสวนแลไร่ จนเต็มเนื้อที่หมด ประกอบด้วยมีทางคมนาคมบริบูรณ์ คือ มีลำน้ำ ลำคลอง ทางหลวง ทางราษฎร์ และทางรถไฟ ไปมาติดต่อถึงกันได้ โดยสดวกทั้งภายในมณฑลและนอกมณฑล ตลอดจนกรุงเทพพระมหานคร ส่วนทางภาคตวันตกที่เปนภูเขาและป่าไม้นั้นยังขาดทางคมนาคมอันสดวก นับว่าเปนท้องที่ค่อนข้างจะกันดาร แต่บริบูรณ์ไปด้วยสิ่งอันเปนประโยชน์ เช่น ป่าไม้ใหญ่ และแร่ธาตุโลหะต่างๆ เปนอันมาก
ลำน้ำลำคลอง ในท้องที่มณฑลราชบุรี มีลำน้ำแม่กลองเปนหัวใจสำคัญ เพราะได้อาศรัยน้ำจากแม่น้ำนี้เปนประโยชน์แก่การเพาะปลูกทั่วไป และเปนทางคมนาคมสายใหญ่อันเปนประโยชน์ยิ่ง
นับจากต้นแม่น้ำ คือตั้งแต่หน้าศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีลงมาจนที่สุดออกอ่าวสยามที่หน้าศาลากลางจังหวัดสมุทสงครามเปนระยะทางยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร์ มีเมืองตั้งอยู่ตามลำน้ำนี้ถึง ๓ เมือง คือ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุมทสงคราม และมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ถึง ๙ อำเภอ คือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอวังขนาย ของจังหวัดกาญจนบุรี อำเภอท่ามะกา อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม อำเภอเมืองราชบุรี ของจังหวัดราชบุรี กับอำเภอบางคณฑี อำเภออัมพวา และอำเภอแม่กลอง ของจังหวัดสมุทสงคราม และทั้งสองฝั่งแม่น้ำเปนที่ทำประโยชน์แล้วทั้งสิ้น คือ มีการทำไร่ นา และสวน ทั้งมีบ้านเรือนติดต่อกันโดยตลอด ตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีถึงจังหวัดสมุทสงคราม และในตอนใต้ คือตั้งแต่จังหวัดราชบุรี ถึงจังหวัดสมุทสงครามม ยิ่งมีบ้านเรือนถาวรติดต่อกันแน่นหนายิ่งขึ้น นับเปนแม่น้ำสำคัญและมีประโยชน์มากสาย ๑ ในประเทศสยาม
ต้นของล้ำน้ำแม่กลองนี้มาจากหมู่ภูเขาตนาวศรี ซึ่งอยู่ปลายเขตร์แดนจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดตากกับจังหวัดอุไทยธานีต่อกัน ณ ที่ริมชายพระราชอาณาจักร์สยามต่อกับประเทศพม่า และนามแห่งแม่น้ำก็คงเนื่องมาจากนามอำเภอแม่กลอง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนนามว่า อำเภออุ้มผาง ขึ้นจังหวัดกำแพงเพ็ชร์ทุกวันนี้ และยังมีชื่อเรียกกันอีกว่าแม่น้ำศรีสวัสดิ์ เพราะมีเมืองศรีสวัสดิ์ตั้งอยู่ กับเรียกกันว่าแควใหญ่อีกนาม ๑ ซึ่งเปนคู่กันกับแม่น้ำไทรโยค ซึ่งเรียกกันว่า แควน้อย ระยะทางลำแม่น้ำศรีสวัสดิ์นับตั้งแต่ต้นน้ำถึงศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีตรงที่บรรจบกันกับแม่น้ำไทรโยคนั้นยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร์ นี้เปนต้นน้ำแม่กลองทาง ๑
อีกทาง ๑ มาจากแม่น้ำไทรโยคหรือที่เรียกว่าแควน้อย ซึ่งอยู่ทางทิศตวันตกของแม่น้ำศรีสวัสดิ์ ลำน้ำนี้ต้นน้ำเกิดจากลำธารต่างๆ บนหมู่ภูเขาในท้องที่ปลายอาณาเขตร์จังหวัดกาญจนบุรีต่อกับอาณาเขตร์พม่า มีระยะทางตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงหน้าศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีตรงที่บรรจบกับลำน้ำแควใหญ่ ยางประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร์
นอกจากที่กล่าวนี้แล้ว ยังมีแม่น้ำเพ็ชร์บุรีและลำน้ำปราณ ซึ่งเปนลำน้ำที่มีประโยชน์อันควรนับว่าสำคัญได้เหมือนกัน
ส่วนลำคลองซึ่งเปนทางคมนาคมเชื่อมระหว่างมณฑลราชบุรีกับกรุงเทพพระมหานคร ก็มีคลองสุนักข์หอนยาวประมาณ ๒๕ กิโลเมตร์ และคลองดำเนินสดวกยาวประมาณ ๓๕ กิโลเมตร์ ซึ่งนับว่าเปนคลองที่มีประโยชน์มามากแต่โบราณกาลตลอดจนทุกวันนี้ นอกนั้นก็ยังมีคลองต่างๆ สำหรับติดต่อไปมาภายในอาณาเขตร์ของมณฑล อันนับว่าเปนประโยชน์นั้นอีกมากมายหลายคลอง
อาณาเขตร์มณฑลราชบุรีที่เปนฝั่งทะเลนั้น นับจากปากอ่าวแม่กลองลงไปจนสุดเขตร์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ต่อกับจังหวัดชุมพรมีระยะทางยาวประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร์เศษ และทางรถไฟที่ผ่านในอาณาเขตร์มณฑลราชบุรี มีระยะทางยาวประมาณ ๓๔๔ กิโลเมตร์
ที่มา :
มณฑลราชบุรี. (2468). สมุดราชบุรี. พระนคร : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย.
ในการคัดลอกเรื่องราวของมณฑลราชบุรีครั้งนี้ ผมได้จัดพิมพ์ตามต้นฉบับที่เขียนไว้แต่เดิม เพื่อให้ได้อรรถรสตามสมัยก่อน อีกทั้งยังได้เรียนรู้ภาษาในสมัยก่อนด้วย ซึ่งมีคำบางคำแตกต่างจากภาษาที่เขียนในสมัยปัจจุบัน หลายคำนัก ลองอ่านกันดูนะครับ
การตั้งมณฑลราชบุรี
แต่โบราณกาลมา วิธีการจัดการปกครองท้องที่แห่งสยามประเทศ คงได้จัดตั้งขึ้นเปนเมืองต่างๆ เท่านั้น หาได้มีการรวมหัวเมืองต่างๆ ขึ้นเปนมณฑลดังเช่นปัตยุบันนี้ไม่ และเมืองต่างๆ นั้น ได้แบ่งเปน ชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับแห่งความสำคัญ และตามอาการที่เปนเมืองเล็กเมืองใหญ่ ดูเหมือนจะถือหลักว่าเมืองที่เปนสำคัญนั้นคือเมืองที่เปนเมืองน่าด่าน และกับที่เรียกว่าเมืองลูกหลวง เมืองเช่นกล่าวนี้ขึ้นตรงต่อพระมหานคร ส่วนเมืองที่เปนชั้นต่ำลงไปก็อยู่ในความครอบงำของเมืองใหญ่ ตามส่วน ตามภาค ที่ใกล้ชิดติดต่อกัน
การปกครองหัวเมืองต่างๆ ในสมัยโน้น มิได้รวมหัวเมืองทั้งหมดให้ขึ้นแก่ กระทรวงหนึ่งกระทรวงใดเปนเฉภาะเช่นในเวลานี้ ได้แบ่งการปกครองหัวเมืองให้อยู่ในสังกัดของ ๓ กรม คือ กระลาโหม มหาดไทย และกรมท่า
ครั้นต่อมา ในรัชกาลแห่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๕ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดรวมหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดติดต่อกัน ตั้งขึ้นเปนมณฑลเปนส่วนๆ เมื่อรัตนโกสินทร ศก ๑๑๓ (พ.ศ.๒๔๓๗) และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนวิธีการปกครองหัวเมือง ให้โอนไปสังกัดขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยทั้งสิ้น โดยในสมัยนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนระเบียบการปกครองแผ่นดิน จัดตั้งเปนกระทรวง ทบวงการต่างๆ ขึ้นแล้ว
มณฑล ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นในปีที่กล่าวนี้ มี ๔ มณฑล คือ มณฑลพิศณุโลก มณฑลปราจิณ มณฑลนครราชสิ่มา และมณฑลราชบุรี
มณฑลราชบุรี นั้นได้โปรดให้รวมหัวเมือง ๖ หัวเมือง ตั้งขึ้น คือ เมืองราชบุรี ๑ เมืองกาญจนบุรี ๑ เมืองสมุทสงคราม ๑ เมืองเพ็ชร์บุรี ๑ เมืองปราณ ๑ เมืองประจวบคีรีขันธ์ ๑ แต่แล้วโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองปราณบุรีกับเมืองประจวบคีรีขันธ์ มาขึ้นกับเมืองเพ็ชร์บุรี ฉนั้นมณฑลราชบุรีจึงมีแต่ ๔ หัวเมือง
ครั้นถึง ร.ศ.๑๒๕ (พ.ศ.๒๔๔๙) จึงได้แยกอาณาเขตร์เมืองเพ็ชร์บุรี คือ เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ กับเมืองกำเนิดนพคุณ ซึ่งขึ้นเมืองชุมพรอยู่ในเวลานั้นรวมตั้งเปนเมืองขึ้นอีก พระราชทานนามว่า เมืองปราณบุรี เพราะทรงพระราชดำริห์ว่าเปนนามเก่า และตั้งที่บัญชาการเมืองที่เกาะหลัก
ครั้น พ.ศ.๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัตยุบัน มีกระแสร์พระราชดำรัสเหนือเกล้าฯ ว่า เมืองปราณบุรี ซึ่งตั้งศาลากลางเมืองที่เกาะหลักนั้น เดิมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามไว้ว่า เมืองประจวบคีรีขันธ์ และได้ใช้นามนั้นมาจนถึง พ.ศ.๒๔๔๙ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมืองกำเนิดนพคุณ ๓ เมืองเปนเมืองเดียว เพื่อจัดการเทศาภิบาลนั้น ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า เมืองปราณบุรีเปนชื่อเก่าควรคงชื่อนั้นไว้ จึงได้ทรงพระราชทานนามเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่นั้นว่า "เมืองปราณบุรี" แต่ส่วนท้องที่เมืองปราณเดิมนั้น ให้คงเรียกว่าอำเภอปราณ
เพราะเหตุว่าที่เมืองปราณเก่านั้น มีตำบลบ้านและลำคลองปราณเปนหลักถานอยู่ ราษฎรก็ยังคงเรียกเมืองปราณเก่า ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภอปราณบัดนี้ว่า "เมืองปราณ" แต่ในทางราชการนั้นเรียกตำบลบ้านเกาะหลัก ที่ตั้งศาลากลางเมืองว่า "เมืองปราณบุรี" เปนการใช้สับสนพาให้เข้าใจผิดกันไปต่างๆ ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า นามเมืองปราณของโบราณก็ยังมีอำเภอเมืองปราณตั้งอยู่เป็นหลักถานมิได้สาบสูญ แต่ที่เอานามเมืองปราณมาใช้เปนนามสำหรับเมืองที่ตั้งอยู่ต่างท้องที่ในแขวงเมืองเดียวกันนั้น ทำให้เปนการสับสนและเข้าใจยากเช่นนี้ สมควรจะแก้ไขใช้นามเมือง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเมืองปราณบุรีว่า "เมืองประจวบคีรีขันธ์" แต่บัดนั้นมา
เพราะฉนั้น ในปัตยุบัน นี้ มณฑลราชบุรี จึงมีเมืองขึ้น ๕ เมือง คือ เมืองราชบุรี ๑ เมืองเพ็ชร์บุรี ๑ เมืองประจวบคีรีขันธ์ ๑ เมืองกาญจนบุรี ๑ และเมืองสมุทสงคราม ๑ และนับตั้งแต่เริ่มจัดการเทศาภิบาลเปนต้นมา คงได้ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ ที่เมืองราชบุรีจนถึงทุกวันนี้.
ภาพนี้สร้างขึ้นใหม่เพื่อจำลองอาณาเขต 27 ก.ย.2553 |
อาณาเขตร์มณฑลแลภูมิประเทศ
ท้องที่มณฑลราชบุรี อยู่ทางทิศตวันตกของกรุงเทพพระมหานคร มีมณฑลนครไชยศรีคั่นอยู่กลาง อาณาเขตร์ทางทิศตวันออกติดต่อกับเขตร์มณฑลนครไชยศรี และตวันออกตอนใต้ตกทะเล ขึ้นไปทางทิศเหนือติดต่อกับมณฑลนครสวรรค์และอาณาเขตร์พม่า (แขวงเมืองอำเฮิต) ของอังกฤษ ทิศตวันตกทั้งด้านติดต่อกับเขตร์พม่า ตั้งแต่เขตร์เมืองทวายตลอดเมืองมฤทธิ์และตนาวศรีของอังกฤษเช่นเดียวกัน ทิศใต้ติดต่อกับมณฑลสุราษฎร์
รวมอาณาเขตร์มณฑลราชบุรี มีเนื้อที่ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร์ หรือ ๒๕,๐๐๐,๐๐๐ ไร่ แบ่งการปกครองออกเปน ๕ จังหวัด ๒๓ อำเภอ คือ
๑ จังหวัดราชบุรี มี ๗ อำเภอ กับ ๒ กิ่งอำเภอ
๒ จังหวัดเพ็ชร์บุรี มี ๖ อำเภอ
๓ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี ๓ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ
๔ จังหวัดกาญจนบุรี มี ๔ อำเภอ กับ ๓ กิ่งอำเภอ
๕ จังหวัดสมุทสงคราม มี ๓ อำเภอ
ภูมิประเทศของมณฑลราชบุรี แบ่งออกได้เปน ๒ ส่วน โดยถ้าจะถือจังหวัดราชบุรีเปนสูญกลาง และแบ่งภูมิประเทศจากทิศเหนือตรงไปถึงที่สุดทางทิศใต้ ภูมิประเทศทางทิศตวันออกตอนเหนือเปนท้องทุ่งราบลุ่ม มีการทำนาและทำสวน ตอนใต้เปนทะเล ส่วนภาคตวันตก นับตั้งแต่ตอนเหนือที่ต่อมณฑลนครสวรรค์และต่อเขตร์พม่า ตลอดลงไปถึงทางทิศใต้ที่ต่อเขตร์มณฑลสุราษฎร์นั้น ท้องที่เปนภูเขาเปนพืดตลอดจนสุดแดน และเปนป่าไม้ต่างๆ
ในท้องที่ภาคที่เปนทุ่งราบนั้น มีการทำนาทำสวนแลไร่ จนเต็มเนื้อที่หมด ประกอบด้วยมีทางคมนาคมบริบูรณ์ คือ มีลำน้ำ ลำคลอง ทางหลวง ทางราษฎร์ และทางรถไฟ ไปมาติดต่อถึงกันได้ โดยสดวกทั้งภายในมณฑลและนอกมณฑล ตลอดจนกรุงเทพพระมหานคร ส่วนทางภาคตวันตกที่เปนภูเขาและป่าไม้นั้นยังขาดทางคมนาคมอันสดวก นับว่าเปนท้องที่ค่อนข้างจะกันดาร แต่บริบูรณ์ไปด้วยสิ่งอันเปนประโยชน์ เช่น ป่าไม้ใหญ่ และแร่ธาตุโลหะต่างๆ เปนอันมาก
ลำน้ำลำคลอง ในท้องที่มณฑลราชบุรี มีลำน้ำแม่กลองเปนหัวใจสำคัญ เพราะได้อาศรัยน้ำจากแม่น้ำนี้เปนประโยชน์แก่การเพาะปลูกทั่วไป และเปนทางคมนาคมสายใหญ่อันเปนประโยชน์ยิ่ง
นับจากต้นแม่น้ำ คือตั้งแต่หน้าศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีลงมาจนที่สุดออกอ่าวสยามที่หน้าศาลากลางจังหวัดสมุทสงครามเปนระยะทางยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร์ มีเมืองตั้งอยู่ตามลำน้ำนี้ถึง ๓ เมือง คือ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุมทสงคราม และมีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ถึง ๙ อำเภอ คือ อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอวังขนาย ของจังหวัดกาญจนบุรี อำเภอท่ามะกา อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม อำเภอเมืองราชบุรี ของจังหวัดราชบุรี กับอำเภอบางคณฑี อำเภออัมพวา และอำเภอแม่กลอง ของจังหวัดสมุทสงคราม และทั้งสองฝั่งแม่น้ำเปนที่ทำประโยชน์แล้วทั้งสิ้น คือ มีการทำไร่ นา และสวน ทั้งมีบ้านเรือนติดต่อกันโดยตลอด ตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีถึงจังหวัดสมุทสงคราม และในตอนใต้ คือตั้งแต่จังหวัดราชบุรี ถึงจังหวัดสมุทสงครามม ยิ่งมีบ้านเรือนถาวรติดต่อกันแน่นหนายิ่งขึ้น นับเปนแม่น้ำสำคัญและมีประโยชน์มากสาย ๑ ในประเทศสยาม
ต้นของล้ำน้ำแม่กลองนี้มาจากหมู่ภูเขาตนาวศรี ซึ่งอยู่ปลายเขตร์แดนจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดตากกับจังหวัดอุไทยธานีต่อกัน ณ ที่ริมชายพระราชอาณาจักร์สยามต่อกับประเทศพม่า และนามแห่งแม่น้ำก็คงเนื่องมาจากนามอำเภอแม่กลอง ซึ่งต่อมาเปลี่ยนนามว่า อำเภออุ้มผาง ขึ้นจังหวัดกำแพงเพ็ชร์ทุกวันนี้ และยังมีชื่อเรียกกันอีกว่าแม่น้ำศรีสวัสดิ์ เพราะมีเมืองศรีสวัสดิ์ตั้งอยู่ กับเรียกกันว่าแควใหญ่อีกนาม ๑ ซึ่งเปนคู่กันกับแม่น้ำไทรโยค ซึ่งเรียกกันว่า แควน้อย ระยะทางลำแม่น้ำศรีสวัสดิ์นับตั้งแต่ต้นน้ำถึงศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีตรงที่บรรจบกันกับแม่น้ำไทรโยคนั้นยาวประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร์ นี้เปนต้นน้ำแม่กลองทาง ๑
อีกทาง ๑ มาจากแม่น้ำไทรโยคหรือที่เรียกว่าแควน้อย ซึ่งอยู่ทางทิศตวันตกของแม่น้ำศรีสวัสดิ์ ลำน้ำนี้ต้นน้ำเกิดจากลำธารต่างๆ บนหมู่ภูเขาในท้องที่ปลายอาณาเขตร์จังหวัดกาญจนบุรีต่อกับอาณาเขตร์พม่า มีระยะทางตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงหน้าศาลากลางจังหวัดกาญจนบุรีตรงที่บรรจบกับลำน้ำแควใหญ่ ยางประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร์
นอกจากที่กล่าวนี้แล้ว ยังมีแม่น้ำเพ็ชร์บุรีและลำน้ำปราณ ซึ่งเปนลำน้ำที่มีประโยชน์อันควรนับว่าสำคัญได้เหมือนกัน
ส่วนลำคลองซึ่งเปนทางคมนาคมเชื่อมระหว่างมณฑลราชบุรีกับกรุงเทพพระมหานคร ก็มีคลองสุนักข์หอนยาวประมาณ ๒๕ กิโลเมตร์ และคลองดำเนินสดวกยาวประมาณ ๓๕ กิโลเมตร์ ซึ่งนับว่าเปนคลองที่มีประโยชน์มามากแต่โบราณกาลตลอดจนทุกวันนี้ นอกนั้นก็ยังมีคลองต่างๆ สำหรับติดต่อไปมาภายในอาณาเขตร์ของมณฑล อันนับว่าเปนประโยชน์นั้นอีกมากมายหลายคลอง
อาณาเขตร์มณฑลราชบุรีที่เปนฝั่งทะเลนั้น นับจากปากอ่าวแม่กลองลงไปจนสุดเขตร์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ต่อกับจังหวัดชุมพรมีระยะทางยาวประมาณ ๓๐๐ กิโลเมตร์เศษ และทางรถไฟที่ผ่านในอาณาเขตร์มณฑลราชบุรี มีระยะทางยาวประมาณ ๓๔๔ กิโลเมตร์
ที่มา :
มณฑลราชบุรี. (2468). สมุดราชบุรี. พระนคร : โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น