วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ที่พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง

หลังจากศูนย์นักศึกษาพม่ามณีลอย ที่ ต.วังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ได้ปิดลงอย่างเร่งด่วนเมื่อปี พ.ศ.2545 แล้ว นักศึกษาบางส่วนถูกส่งตัวไปยังประเทศที่สาม และบางส่วนก็ถูกส่งมาอยู่ที่พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เพื่อรอส่งตัวไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามต่อไป

ผมพยายามค้นหาข้อมูลของบ้านถ้ำหิน จากเอกสาร หนังสือ และเว็บไซต์ต่างๆ แทบจะไม่มีข้อมูลอะไรที่เปิดเผยมากนัก ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ UNHCR Thailand ก็มีระบุเป็นภาพรวมๆ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการ  ความเป็นอยู่  การจำแนกจำนวนผู้ลี้ภัย  อาหารการกิน การให้การศึกษา การสาธารณูปโภค การรักษาพยาบาลฯลฯ ในแต่ละแห่ง   แทบไม่มีรายละเอียดอะไรให้ทราบเลย   

จากข้อมูลระบุว่า  ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ภัยที่ลงทะเบียนแล้วเกือบ 102,000 คนและ ผู้ขอลี้ภัยอีก 12,500 คน ซึ่งส่วนมากเป็น ชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่า ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดง (กะยาห์) ผู้ลี้ภัยเหล่านี้อาศัย อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งใน 4 จังหวัดของประเทศไทยบริเวณชายแดนไทย-พม่า ค่ายเหล่านี้ได้รับการดูแลจาก รัฐบาลไทยและได้รับความช่วยเหลือส่วนใหญ่จากองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ในขณะที่ยูเอ็นเอชซีอาร์ก็ทำงาน ในค่ายเหล่านี้โดยเน้นหนักไปที่กิจกรรมการคุ้มครองเพื่อทำให้ผู้ลี้ภัยได้อยู่อาศัยอย่างปลอดภัยในค่าย


ที่มาของภาพ
http://www.unhcr.or.th/sites/default/files/unhcr-map_th.gif

พื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่ง ใน 4 จังหวัด
ยอดรวมผู้ลี้ภัย 102,000 คน (แยกเป็นกะเหรี่ยง  87,000 คน และกะเหรี่ยงแดง 15,000 คน)
  1. บ้านใหม่ในสอย อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน จำนวน 18,327 คน
  2. บ้านแม่สุรินทร์ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน จำนวน 3,611 คน
  3. บ้านแม่ลามาหลวง อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จำนวน 13,891 คน
  4. บ้านแม่ละอูน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จำนวน 13,956 คน
  5. บ้านแม่หละ อ.ท่าสองยาง  จ.ตาก จำนวน 31,459 คน
  6. บ้านอุ้มเปี้ยม อ.พบพระ จ.ตาก จำนวน 13,098 คน
  7. บ้านนุโพ อ.อุ้มผาง จ.ตาก จำนวน 10,278 คน
  8. บ้านต้นยาง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี จำนวน 3,378 คน
  9. บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี จำนวน 4,871 คน

บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
ที่มาของภาพ
 http://deadwood48.multiply.com/photos/album/9/9##photo=4

ผู้ลี้ภัย ไม่ใช่แรงงานต่างด้าว
ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหาร หรือได้รับการคุกคามต่อชีวิต ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างรวมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเรือน และแม้แต่ครอบครัว ผู้ลี้ภัย แตกต่างจากแรงงานต่างด้าวเพราะแรงงานต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศของตนโดยสมัครใจเพื่อหาโอกาสทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ ผู้ลี้ภัยไม่อาจพึ่งพาความคุ้มครองจากรัฐบาลของตนเอง พวกเขาถูกบังคับให้หนีจากประเทศของตนเอง จึงจำเป็นที่ประชาคมนานาชาติต้องให้ความช่วยเหลือ และให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยเหล่านั้น



ที่มาข้อมูล
UNHCR Thailand. (2554). ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย. [Online]. Available :http://www.unhcr.or.th/th/refugee/thailand. [2554 เมษายน 21 ].



อ่านต่อ >>