วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศูนย์นักศึกษาพม่ามณีลอย ตอนที่ 2 ใครบ้างอยู่ในศูนย์ฯ

ต่อจาก ศูนย์นักศึกษาพม่ามณีลอย ตอนที่ 1 กำเนิดศูนย์

การเข้าพักอาศัยในศูนย์นักศึกษาพม่ามณีลอย
หลักเกณฑ์ในการรับบุคคลสัญชาติพม่าเข้าพักอาศัยในศูนยนักศึกษาพม่านี้ ได้ปฏิบัติตามหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทย ลับ ด่วนมาก ที่ มท.(สศอ.) 0205/1982 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2538 และหนังสือด่วนมากที่ มท.0205.3/9827  ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2539  ดังนี้
  • กลุ่มที่ 1 บุคคลสัญชาติพม่าที่มีสถานศึกษา และอดีตข้าราชการ นักการเมือง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ลงบัญชีไว้เมื่อปี พ.ศ.2535 หากบุคคลดังกล่าวไปรายงานตัวขอเข้าพักในศูนย์ฯ ให้ทำการตรวบสอบสถานะ แล้วรับตัวเข้าพักในศูนย์ฯ โดยไม่ต้องดำเนินคดี  ทั้งนี้ให้รวมถึงครอบครัวของบุคคลดังกล่าวนี้ด้วย
  • กลุ่มที่  2 บุคคลสัญชาติพม่าที่อยู่ในความดูแลของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR  (ย่อมาจาก United Nations High Commissioner for Refugees) หากไปรายงานตัวขอเข้าพักในศูนย์ฯ ให้นำตัวไปดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 เมื่อสิ้นสุดคดี ให้นำตัวเข้าไปไว้ในศูนย์ฯ เป็นการชั่วคราว โดยไม่มีการออกบัตรประจำตัวและใบอนุญาตให้เดินทางออกนอกศุนย์ จนกว่ากระทรวงมหาดไทยจะได้รับทะเบียนประวัติข้อมูลบุคคล (BIO-DATA) ของบุคคลเหล่านั้นจาก UNHCR จึงจะขออนุญาตให้เข้าพักในศูนย์ฯ อย่างเป็นทางการต่อไป 

จำนวนผู้ที่พักอยู่ในศูนย์ฯ
ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2543 มีนักศึกษาพม่าที่พักอยู่ในศูนย์มณีลอย รวม 1,746 คน  แยกเป็น ชาย 807 คน หญิง 447 คน เด็กชาย 253 คน เด็กหญิง 239 คน ถูกเพิกถอนสภาพแล้ว  28 คน เสียชีวิต 35 คน ในด้านการศึกษาสามารถจำแนกได้ ดังนี้
  • ปริญญาเอก  1  คน
  • ปริญญาตรี  110 คน
  • มัธยมปลาย  280 คน
  • มัธยมต้น 240 คน
  • อ่านออกเขียนได้ 400 คน
  • ไม่รู้หนังสือ 140 คน
ผู้ที่พักอยู่ในศูนย์มณีลอยแห่งนี้ มีครอบครัวแล้วประมาณ 70% ซึ่งกลุ่มนี้มุ่งไปสู่ประเทศที่สาม ส่วนกลุ่มที่ยังโสดนั้น ยังมีความคิดว่า หากสถานการณ์ในพม่าดีขึ้นจะกลับไปประเทศพม่าเพื่อต่อสู้ทางการเมืองอีก ถิ่นกำเนิดส่วนใหญ่มาจาก รัฐกะเหรี่ยง มอญ มัณฑะเล ย่างกุ้ง ทวาย เมียวดี



กลุ่มต่างๆ ในศูนย์ฯ
เนื่องจากนักศึกษาพม่ามีความคิดหลากหลายนิยมประชาธิปไตยอย่างรุนแรงคงามคิดเสรีอย่างสุดโต่ง จึงแตกแยกในความคิดและวิธีดำเนินงานอย่างมาก ไม่มีกลุ่มใดมีอิทธิพลเหนือกลุ่มใด ทุกกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน  มีผู้นำกลุ่มของตนเอง การแข่งขันระหว่างกลุ่มสูง การแสดงออกต่างๆ จะออกมาในรูปแบบที่รุนแรงมาก ควบคุมยาก ภายในศุฯย์สามารถแบ่งได้ออกเป็น 15 กลุ่ม ดังนี้

สัญชาติกะเหรี่ยง
  • กลุ่ม KSO  มี พ.ต.โรเบิร์ตสัน เป็นผู้นำ
  • กลุ่ม OKRSO ยังไม่มีผู้นำที่แท้จริง
  • กลุ่ม KNC มี ดร.มาลา เป็นผู้นำ
  • กลุ่ม KYSO  มี ซูเวน  เป็นผู้นำ
สัญชาติมอญ
  • กลุ่ม OMNSO มี เอเวน เป็นผู้นำ (กลุ่มนี้ใหญ่เป็นอันดับสอง มีสมาชิกประมาณ 200 คน)
  • กลุ่ม OMYSO มี พระหม่อง เป็นผู้นำ
สัญชาติพม่า
  • กลุ่ม RPLS  มี ทงอ่องโจ เป็นผู้นำ
  • กลุ่ม PLF มี เมี๊ยะอ่อง เป็นผู้นำ
  • กลุ่ม PDF มี ยาอ่อง เป็นผู้นำ
  • กลุ่ม ONSOB มี ซิพวย เป็นผู้นำ
  • กลุ่ม ABBESU มี เมี๊ยะโจอ่อง เป็นผู้นำ
  • กลุ่ม ABYMY มี เปียนยา เป็นผู้นำ
  • กลุ่ม FMASA มี เหง่หลี เป็นผู้นำ (กลุ่มนี้ใหญ่เป็นอันดับสอง มีสมาชิกประมาณ 200 คน)
  • กลุ่ม BSA มี ไนท์ วิน เป็นผู้นำ (กลุ่มนี้ใหญ่ที่สุด มีสมาชิกถึง 500 คน)
  • กลุ่ม NSL ยังไม่มีผู้นำที่แท้จริง

แกนนำสำคัญ
บุคคลที่เป็นแกนนำสำคัญที่นักศึกษาเชื่อถือและมีบทบาทในการปลุกใจให้เกิดความกระตือรือร้นรุกรบและต่อสู้ในกิจกรรมเคลื่อนไหวเรียกร้องต่างๆ ได้แก่  จอนห์นี่, ปรีดา, เหม่าทุย,  พ.ต.โรเบิร์ตสัน,  พระหม่อง, พระเปียนยา,  อ่องซู,  ชาลี, เมฮิตา,  บาตาน. ตันติฮัน,  ติชา,  ซูซู,  ยียี,  หม่อง,  หม่องมอ,  เยดิ,  เมี๊ยะร่วย,  เยนผิ,  ติฮะ,  เต เต รวย,  ซ่อไป่,  ตาอู่,  แตงเตททู,  เต็งตาอู

อ่านต่อ ศูนย์นักศึกษาพม่ามณีลอย ตอนที่ 3 อยู่กันอย่างไรในมณีลอย


ที่มาข้อมูล
ปรีชา  เรืองจันทร์. (2543). ก๊อดอามี่  มณีลอย ปลุกราชบุรีเขย่าโลก. ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น