หลังจากศูนย์นักศึกษาพม่ามณีลอย ที่ ต.วังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ได้ปิดลงอย่างเร่งด่วนเมื่อปี พ.ศ.2545 แล้ว นักศึกษาบางส่วนถูกส่งตัวไปยังประเทศที่สาม และบางส่วนก็ถูกส่งมาอยู่ที่พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เพื่อรอส่งตัวไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามต่อไป
ผมพยายามค้นหาข้อมูลของบ้านถ้ำหิน จากเอกสาร หนังสือ และเว็บไซต์ต่างๆ แทบจะไม่มีข้อมูลอะไรที่เปิดเผยมากนัก ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ UNHCR Thailand ก็มีระบุเป็นภาพรวมๆ ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการ ความเป็นอยู่ การจำแนกจำนวนผู้ลี้ภัย อาหารการกิน การให้การศึกษา การสาธารณูปโภค การรักษาพยาบาลฯลฯ ในแต่ละแห่ง แทบไม่มีรายละเอียดอะไรให้ทราบเลย
จากข้อมูลระบุว่า ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ภัยที่ลงทะเบียนแล้วเกือบ 102,000 คนและ ผู้ขอลี้ภัยอีก 12,500 คน ซึ่งส่วนมากเป็น ชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่า ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดง (กะยาห์) ผู้ลี้ภัยเหล่านี้อาศัย อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งใน 4 จังหวัดของประเทศไทยบริเวณชายแดนไทย-พม่า ค่ายเหล่านี้ได้รับการดูแลจาก รัฐบาลไทยและได้รับความช่วยเหลือส่วนใหญ่จากองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ในขณะที่ยูเอ็นเอชซีอาร์ก็ทำงาน ในค่ายเหล่านี้โดยเน้นหนักไปที่กิจกรรมการคุ้มครองเพื่อทำให้ผู้ลี้ภัยได้อยู่อาศัยอย่างปลอดภัยในค่าย
ที่มาของภาพ http://www.unhcr.or.th/sites/default/files/unhcr-map_th.gif |
พื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่ง ใน 4 จังหวัด
ยอดรวมผู้ลี้ภัย 102,000 คน (แยกเป็นกะเหรี่ยง 87,000 คน และกะเหรี่ยงแดง 15,000 คน)
- บ้านใหม่ในสอย อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน จำนวน 18,327 คน
- บ้านแม่สุรินทร์ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน จำนวน 3,611 คน
- บ้านแม่ลามาหลวง อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จำนวน 13,891 คน
- บ้านแม่ละอูน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จำนวน 13,956 คน
- บ้านแม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก จำนวน 31,459 คน
- บ้านอุ้มเปี้ยม อ.พบพระ จ.ตาก จำนวน 13,098 คน
- บ้านนุโพ อ.อุ้มผาง จ.ตาก จำนวน 10,278 คน
- บ้านต้นยาง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี จำนวน 3,378 คน
- บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี จำนวน 4,871 คน
บ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ที่มาของภาพ http://deadwood48.multiply.com/photos/album/9/9##photo=4 |
ผู้ลี้ภัย ไม่ใช่แรงงานต่างด้าว
ผู้ลี้ภัย หมายถึง บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหาร หรือได้รับการคุกคามต่อชีวิต ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่สูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างรวมไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ บ้านเรือน และแม้แต่ครอบครัว ผู้ลี้ภัย แตกต่างจากแรงงานต่างด้าวเพราะแรงงานต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศของตนโดยสมัครใจเพื่อหาโอกาสทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ ผู้ลี้ภัยไม่อาจพึ่งพาความคุ้มครองจากรัฐบาลของตนเอง พวกเขาถูกบังคับให้หนีจากประเทศของตนเอง จึงจำเป็นที่ประชาคมนานาชาติต้องให้ความช่วยเหลือ และให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยเหล่านั้น
ที่มาข้อมูล
UNHCR Thailand. (2554). ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย. [Online]. Available :http://www.unhcr.or.th/th/refugee/thailand. [2554 เมษายน 21 ].
ในหนังสือ ไร้แผ่นดินเส้นทางจากพม่าสู่ไทย A journey of Ethnic Minority งานศึกษาวิจัยของ พรพิมล ตรีโชติ มีข้อมูลอยู่ครับ น่าจะหาได้จากศูนย์จุฬา
ตอบลบครูสวนผึ้ง
และในบทที่ 2 งานวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพการทอผ้าโสร่งของกลุ่มสตรีกะเหรี่ยง ในศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน วิทยานิพนธ์ ของ นันทวรรณ สุทธิประภา มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
ตอบลบครูสวนผึ้ง
และข้อมูล สรุปการเดินทางไปศึกษาดูงานในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ของคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ในคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา ระหว่างวันที่ ๘ – ๙ ธันวาคม ๒๕๕๑
ตอบลบอ้างอิงจาก www.senate.go.th .... (หาได้กว่าโดยเข้า Google ใช้คำค้น ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน วุฒิสภา) เป็นไฟล์ doc
ครูสวนผึ้ง
ติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ด้วยวิธีใดครับผม
ตอบลบขอถามว่ามีใครรู้จักหรือเคยร่วมงานบวชเพื่อถวายแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ของนักศึกษาพม่าและผู้อพยพพม่าที่อยู่ในค่ายมณีลอย หรือ ค่ายอพยพที่วังมะนาว หรือไม่ หัวหน้านักศึกษารุ่นนั้นเป็นคนมอญพม่า คนถามเคยมาร่วมงานและไปพักที่วัด มีรูปงานบวชด้วย ถ้ามีคนรู้จักกรุณาติดต่อกลับ suleeporn64@gmail.com ขอบคุณ
ตอบลบ